02 พฤศจิกายน 2553

REVIEW MM!

MM! ยายตัวร้ายกับนายมาโซ!

Official Site http://www.butaro.net/

Category TV
Total Episodes 12
Genres Comedy, School Life
Year Published 2010
Release Date 2010-10-02 ∼
Broadcaster -
Studio Xebec (Kanokon / Love Hina / To Love-Ru)

Review
Masochism , ในยุคศตวรรษที่สิบแปดนักเขียนชาวออสเตรีย Leopold von Sacher-Masoch ได้แต่งหนังสือ Venus im Pelz (Venus in Furs)
ซึ่งตัวเอกในเรื่องนี้หลงไหลในสาวงามและเพื่อที่จะเข้าใกล้ชิดกับเธอ ชายผู้นั้นยอมไปเป็นทาสรับใช้และถูกทรมาณต่าง ๆ โดยไม่บ่นซักคำ
ต่อมาในยุคศตวรรษที่ สิบเก้า นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน Richard Freiherr von Krafft-Ebing ได้นำเสนอแนวคิด Masochismus (นำมาจากชื่อของผู้แต่งหนังสือด้านบน)ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็นโรคทางจิตอย่างนึง ผู้ปฎิบัติตามแนวทางของศาสตร์นี้ จะมีความสุขกับการได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ

ในเรื่องนี้ก็เช่นกันพระเอกผู้น่าสงสาร (?) ของเรา เป็นพวกมีความสุขเมื่อได้รับความเจ็บปวด
แต่ว่าเขากังวลกับอาการนี้ของเขา และเขาต้องการรักษามัน เพื่อที่จะได้มีชีวิตรักแบบปกติ ๆ กับสาวที่เขาหลงรัก

Opening Theme:
"HELP!!" by Ayana Taketatsu
Ending Theme:
"More-more LOVERS!!" by Natsuko Aso

Character
Tarou Sado (砂戸 太郎)

CV : Jun Fukuyama
( Lelouch Lamperouge / Code Geass , Souta Takanashi / Working!! , Shinra Kishitani / Durarara!! )
ทาโร ซาโด ตัวเอกของเรื่องนี้ผู้เป็นมาโชโดยแท้
เขาเรียนอยู่ชั้นเดียวกับ ยูโนะ สาวผู้เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นมาโช

Mio Isurugi (石動 美緒)

CV : Ayana Taketatsu
( Azusa Nakano / K-on! , Nozomi Kiriya / Mayoi Neko Overrun! , Ako Suminoe / Kiss×sis )
มิโอ อิซุรุกิ รุ่นพี่ของ ทาโร , เธอเป็นประธานของชมรมลึกลับภายในโรงเรียนของเขา
และเธอชอบทำร้าย ทาโร ซะด้วยสิ

Arashiko Yuuno (結野 嵐子)

CV : Saori Hayami
( Saki Morimi / Eden of The East , Ayase Aragaki / Ore no Imouto ga Konnani Kawaii Wake ga Nai )
อะราชิโกะ ยูโนะ เพื่อนร่วมชั้นของ ทาโร ตั้งแต่สมัยประถม
เธอนี่แหละคือสาเหตุที่ทำให้ ทาโร กลายมาเป็นมาโช
* Yui Horie (drama CD)

Tatsukichi Hayama (葉山 辰吉)

CV : Rina Satou
( Negi Springfield / Negima , Haruka Minami / Minami-ke , Mikoto Misaka / Toaru Kagaku no Railgun )
ทาซึคิจิ ฮายามะ เพื่อนสนิทของ ทาโร ที่อยู่ห้องเดียว เขาคนนี้ชอบคอสเดรสมาก ๆ เลยล่ะ lol

Michiru Onigawara (鬼瓦 みちる)

CV : Rie Tanaka
( Maria / Hayate no Gotoku , Lacus Clyne / Gundam Seed , Minna-Dietlinde Wilcke / Strike Witches )
มิจิรุ โอนิกาวาระ พยาบาลประจำโรงเรียน ผู้ที่ชอบจับคนอื่นมาคอสเพลย์

Shizuka Sado (砂戸 静香)

CV : Kana Asumi
( Yuu / Black Rock Shooter , Popura Taneshima / Working!! , Mikoto Kondou / Kämpfer )
ชิซึกะ ซาโด พี่สาวของ ทาโร ผู้ที่หลงรักน้องชายตัวเองหัวปักหัวปำ

Tomoko Sado (砂戸 智子)

CV : Sayaka Ohara
( Beatrice / Umineko no Naku Koro ni , Erza Scarlet / Fairy Tail , Alicia Florence / Aria )
คุณนาย โทโมโกะ ซาโด คุณแม่ของ ทาโร ผู้รักและหวงลูกชายของตัวเองมาก

Credit Review By http://www.dl-fs.com

Japanese staff

Director: Tsuyoshi Nagasawa
Series Composition: Rie Oga
Script:
Naoko Marukawa
Rie Oga
Music: Yukari Hashimoto
Original creator: Akinari Matsuno
Original Character Design: QP:flapper
Character Design: Taeko Hori
Art Director: Keito Watanabe
Chief Animation Director: Taeko Hori
Sound Director: Takeshi Takadera
Director of Photography: Tomoyuki Nakata

Color design: Hanzō Kagehara
Editing: Yoshiki Ushiroda (Jay Film)
Prop Design: Hanzō Kagehara
Theme Song Composition:
corin. (OP)
Ken'ichi Maeyamada (ED)
Theme Song Lyrics:
Aki Hata (ED)
Saori Kodama (OP)
Theme Song Performance:
Ayana Taketatsu (OP)
Natsuko Aso (ED)


Japanese cast
Ayana Taketatsu เป็น Mio Isurugi
Jun Fukuyama เป็น Tarō Sado

Kana Asumi เป็น Shizuka Sado
Rie Tanaka เป็น Michiru Onigawara
Rina Satou เป็น Tatsukichi Hayama
Saori Hayami เป็น Arashiko Yūno
Sayaka Ohara เป็น Tomoko Sado
Sayuri Yahagi เป็น Noa Hiiragi
Tomokazu Sugita เป็น Dōmyōji Shop Manager
Tsubasa Yonaga เป็น Yukinojō Himura
Yuko Gibu เป็น Yumi Mamiya

Japanese companies

Animation Production: Xebec
Broadcaster:
AT-X (2010-10-02)
Chiba TV (2010-10-03)
Sun TV (2010-10-05)
Tokyo MX TV (2010-10-06)
TV Aichi (2010-10-05)
TV Kanagawa (2010-10-04)
TV Saitama (2010-10-03)

Story

"ซาโด้ ทาโร่" เป็นเด็กหนุ่มต๊อกต๋อยธรรมดาผู้มีครอบครัวอันอบอุ่นและแสนสุข วันธรรมดาของเขารายล้อมไปด้วยหม่าม้ายังสาวและคุณพี่สุดสวยที่ต่างคอยรุมกันออดอ้อนออเซาะฉอเลาะเจ้าทาโร่อยู่ตลอดเวลาราวกับหลุดออกมาจากฮาเร็ม (มองแล้วช่างน่าหมั่นไส้) ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลลึกๆที่ทำให้จิตใจของเขาเริ่มปฏิเสธความรักที่อ่อนโยนและไออุ่นของมนุษย์

และแล้ววันหนึ่ง ทาโร่เกิดโดนเพื่อนร่วมชั้นสาวคนนึงที่ชื่อ "ยูโนะ อาราชิโกะ" ตบฉาดเข้าให้แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และเหตุการณ์นั้นเองก็กลายเป็นชนวนที่ทำให้ความรู้สึกแปลกๆในใจของเขาเริ่มก่อตัวขึ้นมา มันคืออาการเป็นสุขทุกครั้งที่ถูกสาวๆทารุณกรรมไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือ จิตใจ ไม่ว่าจะโดนตบตี ดุด่าว่ากล่าว เอาแส้ฟาด หรือเอาเทียนลน ทาโร่ก็สามารถใช้สกิลพิเศษเปลี่ยนความเจ็บปวดเหล่านั้นให้กลายเป็นความสุขีสุขังอะระหังสัมมาได้หมด!!! นี่แหละอาการที่เรียกกันว่า "Masochism" (สรุปว่ามันเป็นไอ้โรคจิต วิตถาร มารสังคม... อ๊าคคคค รับไม่ด้ายยยยยยย)

แต่เมื่อขึ้นม.ปลาย ทาโร่ต้องการที่จะกลับเป็นคนปกติให้ได้เพื่อที่จะไปสารภาพรักกับ "องหญิงชิโฮริ"(นามสมมติ) สาวแปลกหน้าที่เขาตกหลุมรักตั้งแต่แรกเห็น (ณ ร้านสะดวกซื้อ =[]='' โรแมนติกซะไม่เมียะ) เขาจึงตัดสินใจไปขอความช่วยเหลือจาก "ชมรมอาสาพัฒนาที่สอง" เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้หายไข้จากอาการM

ณ ชมรมนี้เอง เขาได้พบกับรุ่นพี่ประธานชมรมสาวสวย (แต่สุดโฉด) นาม "อิสึรุกิ มิโอะ" และเหมือนกับเคราะห์ซ้ำกรรมซัด "ยูโนะ อาราชิโกะ" สาวเจ้าที่ทำให้เขายูเรก้า!!!...ค้นพบว่าตัวเองเป็นM ก็ดันเป็นสมาชิกชมรมนี้ด้วย

เอาละเหวย...เอาละวา...แล้วทีนี้ทาโร่จะหายขาดจากอาการเจ็บแล้วเสียวได้ไหมล่ะนี่!!!!

My Vote

ภาพ : 9 คะแนน
เสียง : 9 คะแนน
เนื้อเรื่อง : 9 คะแนน
ความประทับใจ : 10

สรุป = 37/40 เกรด A ครับ

27 ตุลาคม 2553

Anime ที่ผมดูใน season นี้ 27/10/2010



เดี๋ยวจะมา review ให้ทีละเรื่องนะครับ (บางเรื่องผมให้ชื่อภาษาไทยเองนะครับ)


1. MM! หรือ ยัยตัวร้ายกับนายมาโซ


2.Yosuga no Sora หรือ สายใยแห่งนภารักต้องห้าม


3.Ore no imouto ga konnani kawaii wake ga nai หรือ น้องสาวของผมไม่มีทางน่ารักขนาดนี้


4.Kami Nomizo Shiru Sekai (The World God Only Knows) หรือ พี่เทพเกมจีบสาวขอเสี่ยงตายจีบสาวจริง


5.Sora no Otoshimono: Forte หรือ นางฟ้าตกสวรรค์ ภาคนางฟ้ายกกำลัง 3


6.To Aru Majutsu no Index II หรือ สารบัญต้องห้ามกับไอหนุ่มหัวเม่น ภาค 2


7.Hyakka Ryouran Samurai Girls หรือ ซามูไรสาวหมึกกระเซ็น


8.Shinryaku! Ika Musume หรือ หมึกสาวหวังจะครองโลก (อินเด็กรับจ็อป)


9.Fortune Arterial Akai Yakusoku หรือ โรงเรียนมหัศจรรย์แห่งโชคชะตา


ประมาณนี้ครับ

รู้จักกับ Light Novel

        Light Novel (ไลท์โนเวล) เป็นคำภาษาอังกฤษที่ชาวญี่ปุ่นสร้างขึ้นในยุคสมัยหลังสงคราม หากแปลตรงๆ ตัวก็คือนิยายแบบเบาๆ ซึ่งความหมายที่แน่ชัดนั้นก็ยังไม่สามารถบอกได้เช่นกัน หนังสือญี่ปุ่นที่ชื่อว่า หนังสืออ่านไลท์โนเวลโดยสมบูรณ์ นั้นได้ให้หลักการไว้ว่า เป็นนิยายที่ใช้ภาพอิลลัสแบบอนิเมเข้ามาช่วย เน้นกลุ่มผู้อ่านระดับผู้เยาว์เป็นส่วนใหญ่หรืออาจารย์เอโมโตะ อาคิ ผู้เขียนหนังสือ มาเขียนไลท์โนเวลกันเถอะก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือว่า เป็นนิยายที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงและอ่านสบายๆ สำหรับกลุ่มเด็กมัธยมต้นถึงมัธยมปลายเป็นเป้าหมายหลัก          คำว่าไลท์โนเวลเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้น ปรากฎครั้งแรกในช่วงยุคสมัยปี 1990 ใน Web Service Provider ของ NIFTY-Server ในของหัวข้อ “SF-Fantasy Forum” ที่มีการประชุมอิสระและเปลี่ยนชื่อหัวข้อนี้เป็น ไลท์โนเวลเพื่อความเข้าใจง่าย นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการเสนอชื่อเรียกแบบอื่นอีกเช่น “Neat Novel (ニートノベ)” หรือ “Fast/First Novel (ファーストノベ)” อีกเป็นต้น
        
จากสมัยก่อนที่นิยายของเหล่านักอ่านรุ่นเยาว์จะอยู่ในหมวดของคำว่า “Juvenile” หรือ “Young Adult” ก็ยอมรับและเปลี่ยนมาใช้คำว่าไลท์โนเวลกันหมด และเป็นที่เข้าใจแพร่หลายมากในปี 2000 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากว่าคำว่า ไลท์โนเวล นั้นเป็นภาษาอังกฤษที่คนญี่ปุ่นสร้างเอง เพื่อความเข้าใจของคนญี่ปุ่นด้วยกัน ดังนั้นแล้วบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าต้นภาษานั้นมาจากเจ้าของประเทศ (อังกฤษ) ก็มีอยู่ได้เช่นกัน ถึงกระนั้นในปัจจุบันห้องสมุดบางแห่งก็ประยุกต์ใช้คำว่าไลท์โนเวล มาแทนคำว่า “Young Adult” แล้ว ความเป็นมาของคำว่าไลท์โนเวล
ความคลุมเครือของนิยามคำว่า ไลท์โนเวล
         
นิยายแบบไหนคือไลท์โนเวลกันแน่? หลายๆ คนคงอยากจะรู้นิยามที่แน่นอนกันแน่ ทว่าที่กล่าวได้ว่าแล้วไลท์โนเวลกับนิยายอื่นๆ มีความแตกต่างกัน แต่ก็ไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่ามันคือนิยามของคำว่าไลท์โนเวลเช่นกัน ดังนั้นแล้วจึงมาการอธิบายนิยามของคำว่าไลท์โนเวลออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ มากมายเช่น
  • หากถูกตีพิมพ์ออกมาอยู่ให้หมวดหมู่ของคำว่าไลท์โนเวล ก็ถือว่าเป็นไลท์โนเวล
  • มีการกำหนดจากแผนกการตลาดของบริษัทแม่มาว่าให้อยู่ในหมวดหมู่ของคำว่าไลท์โนเวล ก็ถือว่าเป็นไลท์โนเวล
  • มีการใช้นักเขียนอิลลัสท์ที่ภาพออกไปทางด้านอนิเม หรือ การ์ตูน เป็นส่วนใหญ่ ก็ถือว่าเป็นไลท์โนเวล
  • มีหลักการโดยการสร้างคาแรคเตอร์ เพื่อดำเนินเรื่องเป็นหลัก ก็ถือว่าเป็นไลท์โนเวล
  • มีการทึกทักว่าเป็นนิยายที่กลุ่มเยาวชน (เด็กชั้นมัธยมต้น) อ่านเป็นส่วนมากก็ถือว่าเป็นไลท์เวล เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดความอื่นๆ อีกมากกมาย จึงเป็นที่กล่าวขานกันอย่างแพร่หลายของนิยามของคำว่าไลท์โนเวลที่แท้จริงแล้วมันคืออะไร และก็มีบทพูดจากเวปของกลุ่มผู้รักไลท์โนเวลในญี่ปุ่นกล่าวไว้คำนึงว่า สิ่งที่คุณคิดว่ามันคือไลท์โนเวลนั่นแหละคือไลท์โนเวล แต่จะให้มันเป็นที่ยอมรับของคนอื่นมันก็หาไม่ ดังนั้นแล้วความคลุมเครือนี้ก็ยังสืบเนื่องมาในปัจจุบันและยังหาของสรุปของนิยามที่แน่นอนนี้ไม่ได้ แต่ก็ยังใช้คำว่า ไลท์โนเวลกันแพร่หลายกันอยู่ต่อไป
         
ดังนั้นแล้วเพื่อการจัดหมวดหมู่หนังสือของนิยามคำว่าไลท์โนเวลในญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ที่ยังมีส่วนที่คลุมเครืออยู่มาก โดยส่วนใหญ่แล้วทางร้านหนังสือจะให้ทางเจ้าสำนักพิมพ์เป็นตัวกำหนดว่าเรื่องใดเป็นไลท์โนเวลและเรื่องใดไม่ใช่ ทั้งนี้หนังสือแนะนำไลท์โนเวลรายปีอย่าง “Kono Light Novel ga Sugoi!” ที่แนะนำนิยายไลท์โนเวลเรื่องต่างๆ ก็ยังนำนิยาย SF, Fantasy เก่าๆ สมัยปี 1970 เหมารวมเป็นไลท์โนเวลด้วยเช่นกัน ทว่านิยายที่อิงประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้กล่าวรวมว่าเป็นไลท์โนเวล
ความสำคัญของไลท์โนเวลกับอิลลัสเตเตอร์
       
สำหรับไลท์โนเวลแล้ว ภาพเขียนประกอบในเล่มมีความสำคัญต่างกับนิยายแบบอื่นๆ อยู่มาก ซึ่งลูกค้าไม่มากก็น้อยที่เลือกซื้อไลท์โนเวลตาม ผู้ออกแบบภาพหรือเรียกง่ายๆ ว่า ซื้อภาพวาดนั่นเอง เพราะหลักการของไลท์โนเวลนั้นอาจจะใกล้เคียงกับอนิเมหรือการ์ตูนมากๆ นั่นเอง
        
ยิ่งนักวาดที่มีความนิยมสูงมาวาดภาพให้ ก็ยิ่งสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นนั้นมันก็เป็นเรื่องธรรมดา หากยิ่งเรื่องสนุกและยังมีนักวาดดัง หรือว่าภาพสวยมีสเน่ห์ย่อมมีความแรงเป็นทวีคูณ อย่างที่ทราบๆ มา ดังนั้นแล้ว ในกระแสของไลท์โนเวล ภาพจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ต่อไลท์โนเวลอยู่มาก และยังสร้างนักวาดภาพหลายๆ คนให้รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้นไปอีก (เช่น อิโต้ โนะอิจิ ผู้วาดภาพประกอบในไลท์โนเวล Shakugan no Shana (นักรบเนตรอัคคี ชานะ ลิขสิทธิ์โดยสนพ. Bliss Publishing) หรือ Suzumiya Haruhi no Yuutsu (ลิขสิทธิ์โดยสนพ.บงกช) เป็นต้น)
         
ทั้งนี้ยังส่งผลไปถึงไลท์โนเวลบางเรื่องที่ได้ทำเป็นอนิเม และใช้การสร้างความดึงดูดจากภาพวาดเดิม หรือการใช้นักวาดเดิมมาเป็นคนวาดภาพอนิเมอีก อย่าง สเลเยอร์, ฟูลเมตัลพานิก เป็นต้น ในปัจจุบันไลท์นี้ โนเวลที่ได้ก็ออกแพร่ภาพในรูปแบบของอนิเมก็สร้างกระแสความนิยมให้กับฉบับนิยายของตนจนเป็นที่ฮือฮาไปนักต่อนัก เรียกได้ว่ายุคสมัยของอนิเมปัจจุบันนี้มีความเกี่ยวข้องกับไลท์โนเวลอยู่อย่างมากเลยทีเดียว
        
ในทางกลับกันไลท์โนเวลบางเล่มก็ได้ตีพิมพ์แยกออกมาเป็นแบบที่ไม่ใช้ภาพประกอบเลยก็มี เพราะความเห็นของนักอ่านวัยกลางคน ที่รู้สึกอายต่อการถูกมองจากคนรอบข้างด้วยเช่นกัน   
ประวัติของไลท์โนเวลและบริษัทที่ทำเกี่ยวกับไลท์โนเวล
       
ไลท์โนเวลเริ่มเป็นที่แพร่หลายรู้จักในวงกว้างตั้งแต่ปี 1990 แต่ก่อนหน้านั้นแล้ว สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดไลท์ไลท์โนเวลที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ โครงสร้างสำคัญของประวัติศาสตร์นี้คงจะไม่พ้น คาโดคาว่าสนีกเกอร์บุงโกะ กับ ฟูจิมิแฟนตาซีบุงโกะ ที่ก่อตั้งในปี 1988 ซึ่งในปีเดียวกันที่นิตยสารดราก้อนจูเนียร์ทื่เป็นนิตยสารรายเดือนที่สนับสนุนการเขียนนิยายรายเดือนออกวางจำหน่าย และในปี 1989 ทางสำนักพิมพ์ฟูจิมิก็ได้จัดการแข่งขันเขียนนิยายแฟนตาซี ซึ่งในปีนั้นนิยายแฟนตาซีหลายเรื่องก็เป็นที่โด่งดังมาก ไม่ว่าจะเป็น บันทึกสงครามเกาะโรดอส, สเลเยอร์, ฟอร์จูนเควส, จอมเวทย์โอเฟ่น เป็นต้น ซึ่งความจริงแล้วทางฟูจิมิแฟนตาซีบุงโกะนั้นก็เป็นบริษัทในเครือของคาโดคาว่าอยู่ด้วยเช่นกัน และในเวลาต่อมาก็ได้รวมฟูจิมิบุงโกะกับคาโดคาว่าและเปลี่ยนชื่อเป็นฟุจิมิโชโบที่ยังอยู่ในเครือของคาโดคาว่าเช่นเดิม
         
ในปี 1992 คาโดคาว่า ซุกุฮิโกะ ผู้เป็นน้องของคาโดคาว่า ฮารุกิ (ประธานบริษัทคาโดคาว่าในสมัยนั้น) พร้อมกับพนักงานบางส่วนได้ลาออกจากคาโดคาว่า มาร่วมมือกับเพื่อนภรรยาของเขาสร้างบริษัทใหม่ที่ชื่อว่ามีเดียเวิร์ค ซึ่งสมาชิกที่ลาออกไปทำตอนนั้นก็ถือว่าเป็นหัวหน้าหลักๆ ในส่วนของคาโดคาว่าบุงโกะอยู่ด้วยเช่นกัน ทว่าด้วยเหตุการณ์ในปี 1993 ที่คาโดคาว่า ฮารุกิถูกจับกุมเพราะเกี่ยวข้องกับคดีสินค้าผิดกฎหมาย ทำให้คาโดคาว่า ซุกุฮิโกะ ต้องกลับมาดำรงตำแหน่งประธานบริษัทคาโดคาว่าอีกครั้งหนึ่ง และในปี 1999 ก็นำบริษัทมีเดียเวิร์คมาอยู่ในเครือของคาโดคาว่าโฮลดิ้งที่ตนก่อตั้งขึ้นมา ในตอนนั้นมีเดียเวิร์คได้ทำการจัดประกวดงานเขียนนิยายของบริษัทในนามว่า งานแข่งขันประกวดนิยายเด็งเกคิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก จนในปี 2000 หนังสือในเครือของมีเดียเวิร์คที่ได้รับความฮือฮาในยอดขายมากที่สุดก็คือ คิโนะ โนะ ทาบิ(การเดินทางของคิโนะ ลิขสิทธิ์โดยสนพ. Bliss Publishing) นั่นเอง
         
ส่วนฟามิซือบุงโกะก็ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 ในเครือของบริษัท ASCII ที่บริษัทไม่ค่อยอยู่ในช่วงที่ดีในปี 1999 ทำให้ในส่วนของฟามิซือและบริษัทลูกอย่าง Aspect ต้องถูกทำสัญญาอยู่ในเครือบริษัทของเอนเตอร์เบรน มีเดียลีฟที่ได้อยู่ในกลุ่มเข้ามารวมกันอยู่ในเครือของคาโดคาว่าโฮลดิ้งอีก และ ASCII ก็ถูกนำไปรวมกับมีเดียเวิร์ค กลายเป็น ASCII Media Work ในเวลาต่อมา
        
ซึ่งตอนนี้บริษัทที่ทำนิยายในเครือของคาโดคาว่าโฮลดิ้งก็มี
  • คาโดคาว่าสนีกเกอร์บุงโกะ
  • ฟูจิมิแฟนตาซีบุงโกะ
  • ฟูจิมิมิสเทอรี่บุงโกะ
  • เด็งเกคิบุงโกะ
  • ฟามิซือบุงโกะ
จากที่กล่าวมาทำให้ดูแล้วส่วนใหญ่ไลท์โนเวลในตลาดเป็นของคาโดคาว่าโฮลดิ้งเป็นส่วนมาก ซึ่งในยุคปี 2000 ก็ยังมีกลุ่มบริษัทไลท์โนเวลใหม่ๆ เกิดมาอย่าง โชกาคุคังผู้เป็นเจ้าของ กากาก้าบุงโกะ และ ลูลูลู่บุงโกะ ที่ถือว่ามีชื่อเสียงอยู่มากเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีฮ๊อบบี้ เจแปน, ซอฟแบงค์ครีเอทีฟ และ อิจิจินฉะ ที่เริ่มทำไลท์โนเวลออกขายอยู่ด้วยเช่นกัน
ไลท์โนเวลในปัจจุบันของญี่ปุ่นและกระแสของโลก
       
ไลท์โนเวลเริ่มเป็นที่โด่งดังมากในช่วงยุคปี 2000 ซึ่งมีการทำสถิติการตลาดของไลท์โนเวลไว้ที่มียอดทำรายได้ถึง 26,400 ล้านเยนในปี 2006 และทำยอดขายได้ 34,400 ล้านเยนในปี 2008 แสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตมาก ซึ่งไลท์โนเวลหลายๆ เรื่องได้ถูกทำเป็นละคร, อนิเม, หนัง, คอมมิค และ เกม และก็มีไลท์โนเวลบางเล่มที่ถูกสร้างจากอนิเมหรือคอมมิคด้วยเช่นกัน โดยตลาดในญี่ปุ่นนั้นหนังสือจากเครือคาโดคาว่านั้นมีส่วนแบ่งของยอดขายสูงถึงระดับ 70-80% ของตลาดเลยทีเดียว เท่าที่เห็นมาว่าอนิเมที่ออกมาใหม่ๆ คาแรคเตอร์ที่ได้รับความนิยมส่วนมากก็ยังถือกำเนิดมาจากไลท์โนเวลมาหลายๆ ต่อหลายนัก ซึ่งสร้างกระแสให้กับผู้ดูและยังสร้างลูกค้านักอ่านเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะหลายๆ เรื่องที่ทำอนิเมจบไปแล้วแต่ในส่วนของไลท์โนเวลยังมีต่อไปเรื่อยๆ และยังไม่มีท่าทีว่าจะจบ อย่างเช่น Shakugan no Shana, Suzumiya Haruhi no Yuutsu, Toaru Majutsu no Index เป็นต้น
        
ด้วยสาเหตุความดังล้นหลามของอนิเมนั่นเอง การอ่านไลท์โนเวลไม่ได้สร้างกระแสนักอ่านแต่ภายในญี่ปุ่นเท่านั้น ยังสร้างกระแสนักอ่านต่างชาติมากมายอีกด้วย โดยอย่างในอเมริกาก็เริ่มมีการตีพิมพ์ไลท์โนเวลจริงๆ จังๆ ในปี 2007 โดยทาง Seven Seas Entertainment ซึ่งกล้าที่จะระบุหัวชื่อหนังสือลงไปว่าเป็น ไลท์โนเวลบนปกเลย ตามมาด้วยสำนักพิมพ์ดังๆ ในอเมริกาอย่าง Tokyopop, Viz ,DMP ,Dark Horse และ Del Ray สำหรับประเทศแถบในเอเชียแล้วนอกจากญี่ปุ่น ประเทศอย่างเกาหลี และไต้หวันก็เป็นประเทศที่การอ่านไลท์โนเวลได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะไต้หวันที่มีสนพ.คาโดคาว่า สาขาไต้หวันโดยเฉพาะ ก็ทำให้การทำตลาดและการซื้อลิขสิทธิ์เป็นไปได้ง่าย รวมถึงความนิยมของการ์ตูนญี่ปุ่นในไต้หวันที่สูงมากทำให้สนพ.ใหญ่ๆ อย่าง Chingwin,Sharp Point Press,Tong Li พากันไปซื้อลิขสิทธิ์ไลท์โนเวลมาจากสนพ.อื่นๆ ในญี่ปุ่นเพื่อทำตลาดแข่งขันกับทางคาโดคาว่า ที่แถบจะผูกขาดนิยายจากสาย Sneaker Bunko และ Dengeki Bunko จนทำให้เป็นประเทศที่มีการซื้อลิขสิทธิ์ไลท์โนเวลสูงที่สุดเลยทีเดียว ซึ่งทั้งหมดจะมีการทำตลาดควบคู่ไปกับการกำเนิดนักเขียนนิยายสำหรับวัยรุ่นหน้าใหม่ๆ ในประเทศขึ้นมาในตลาด จนสามารถกลายเป็นสินค้าส่งออกทางด้านลิขสิทธิ์ให้ประเทศอื่นๆ มาซื้อลิขสิทธิ์ไปทำตลาดกัน สำหรับในประเทศไทยนั้นในส่วนของไลท์โนเวลนั้นก็ยังเรียกได้ว่าเป็นเพียงแค่เซ็คชั่นเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับตลาดหนังสือรวมๆ ในประเทศ เนื่องจากมีสนพ.ที่เข้ามาทำตลาดนั้นมีน้อย รวมถึงปริมาณหนังสือที่ออกในแต่ละปีก็ยังไม่สามารถเทียบได้กับหนังสือจำพวกนิยายแปลจากประเทศอื่นๆ รวมถึงนิยายวัยรุ่นที่แต่งเองโดยคนไทยที่ทำตลาดได้อย่างกว้างขวางและเขียนให้ถูกใจผู้อ่านได้มากกว่า (ซึ่งหากจะนับว่าเป็นไลท์โนเวลก็สามารถนับได้เช่นกัน) โดยหากไม่นับทางสนพ.สยามอินเตอร์คอมิกส์ที่เพิ่งกลับมานิยายชุด 12 อาณาจักรเทพประยุทธ แบบเล่มใหญ่ ในปัจจุบันนั้นมีเพียง 3 สนพ.ที่เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังคือ Bliss Publishing ที่แถบจะถือครองนิยายจากสาย Dengeki Bunko ทั้งหมด รวมถึงนิยายจากสนพ. Kodansha และ Tokuma Shoten ,Luckpim Publishing ที่เปิดตลาดด้วยนิยายจากสนพ.Media Factory ซึ่งมีจุดขายที่เน้นความโมเอะเป็นหลัก และ Bongkoch ที่ถือครองนิยายจากสาย Sneaker Bunko,Beans Bunko ในเครือของคาโดคาว่า จากการถือลิขสิทธิ์นิยายชุด ฮารุฮิ,เรกิออส และ บุปผาคู่บัลลังก์นั่นเอง จึงได้แต่หวังว่าในอนาคตนั้นจะมีสำนักพิมพ์ในไทยกล้าเข้ามาเปิดตลาดมากกว่านี้